เปลี่ยนการ
แสดงผล
ปรับขนาด
ตัวอักษร
 
 
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
  ที่ตั้ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดหนึ่งใน 25 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทยอยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 12 องศา 31 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 99 องศา 9 ลิปดาตะวันออก กับ 100 องศา 1 ลิปดาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครประมาณ 325.3 กิโลเมตร

อาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา คือ ทิศเหนือติดต่อกับอําเภอ ชะอํา อําเภอท่ายาง อําเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทิศใต้ติดต่อกับอําเภอปะทิว อําเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ความยาวชายฝั่งทะเลประมาณ 224.8 กิโลเมตร ทิศตะวันตกติดต่อ สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาโดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนยาวประมาณ 283 กิโลเมตร

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดขนาดกลาง พื้นที่ประมาณ 6,367.62 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.50 ไร่ ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือจดทิศใต้ประมาณ 212 กิโลเมตร ส่วนแคบที่สุดของประเทศและ จังหวัดอยู่ในเขตตําบลคลองวาฬ อําเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงแนวพรมแดนไทย – เมียนมาประมาณ 12 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่าง ไทยกับเมียนมาลาดเอียงลงสู่ทะเลอ่าวไทยด้านตะวันออก และมีเทือกเขาและภูเขาอยู่ทั่วไป ทั้งบริเวณตอนกลางและ บริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัด เทือกเขาที่สําคัญ ได้แก่ เทือกเขาสามร้อยยอด ความสูงโดยเฉลี่ยของเทือกเขาด้าน...
ประวัติความเป็นมา
อบจ.ประจวบคีรีขันธ์
การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุง แก้ไขและวิวัฒนาการตามลำดับ โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 ตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบ เทศบาล พ.ศ. 2476 ฐานะของสภาจังหวัด ขณะนั้น มีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือแนะนำแก่ คณะกรรมการจังหวัด ยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือเป็นหน่วยงานการปก ครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้น โดยมีความ ประสงค์ที่จะแยกกฎหมายที่เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะสำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯนั้น ยังมิได้มีการเปลี่ยน แปลงฐานะและบทบาทของสภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือ สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของคณะกรรมการ จังหวัดเท่านั้น จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบบริหารราชการส่วนจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการจังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯ นี้ ทำให้สภาจังหวัดมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่เนื่องจากบทบาทและการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษา ซึ่งคอยให้คำแนะนำและควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัด ไม่สู้จะได้ผลสมตามความมุ่งหมายเท่าใดนัก จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด ให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชน ได้เข้ามามีส่วนในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2498 อันมีผลให้เกิด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขึ้นตามกฎหมายโดยมีฐานะ เป็นนิติบุคคล แยกจากจังหวัด ในฐานะที่เป็นราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็น หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
วิสัยทัศน์

เมืองแห่งการท่องเที่ยว วิถีเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า
2. ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. เสริมสร้างการพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
4. พัฒนาเส้นทางคมนาคม แหล่งน้ำ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐาน
5. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
6. พัฒนาองค์กรและสร้างเครือข่ายการพัฒนาทุกภาคส่วนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี